วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของการเรียนรู้

องค์ประกอบของการเรียนรู้
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์( http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html) องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ 
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว
องค์ประกอบการเรียนรู้

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chotirosj&month=11-2008&date=24&group=1&gblog=47 จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่า มีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ 
1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                                เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตน          มาเชื่อมโยงหรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่  และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
                                องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้
                                ผู้เรียน  รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับเรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
                                ผู้สอน    ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่างเพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยกระตุ้น       ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป 
                                ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้ซึ่งทำได้ทั้งทางตรง  เช่น  การนำตัวอย่างดินเหนียว  ดินร่วน  และดินทรายให้เด็กได้สัมผัส  เพื่อสังเกตความแตกต่าง  และทางอ้อม  เช่น  การเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์เนื่องจากเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้


                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้  2 ลักษณะ  คือ  การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียนและการจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด   โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้านดังนี้
ด้านความรู้   เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะสอน
ด้านเจตคติ   เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียนเพื่อกระตุ้น       ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับความคิดความเชื่อต่อไป
ด้านทักษะ     เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทำทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน
2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                                เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์           มวลประสบการณ์  ข้อมูล  ความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดสะท้อนความคิด  หรือบอกความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันอย่างลึกซึ้ง   จนเกิดความเข้าใจชัดเจน  ได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่หรือเกิด/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                                ด้านความรู้   ตั้งประเด็นให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่        ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ  ตัวอย่าง  เช่น  การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์  กรณีศึกษา  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การวิเคราะห์แยกประเภทหรือจัดกลุ่ม  การวิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
                                ด้านเจตคติ  ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย  กระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลายเน้น         ในเรื่องคุณค่า  อารมณ์ความรู้สึก  ความคิดความเชื่อ  มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการข้อสรุปจากการอภิปราย  และความคิดรวบยอดที่ได้จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
                                ด้านทักษะ     ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น  และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือฝึกปฏิบัติ      จนชำนาญ
3.  การนำเสนอความรู้
                                เป็นองค์ประกอบที่เน้นผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ  โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้  ได้แก่
                                -      การให้แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้  ขั้นตอนทักษะ  ซึ่งทำให้โดยการบรรยาย  ดูวีดิทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร/ใบความรู้/ตำรา  ฯลฯ
                                -      การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
                                -      ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและ       อภิปรายประเด็นที่ได้มอบหมายให้                              
                                กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ      โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                                ด้านความรู้   ผู้เรียนเกิดความรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
                                ด้านเจตคติ   ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์     ที่กำหนดให้
                                ด้านทักษะ     ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ  อย่างชัดเจน
4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ               ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง  ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
                                จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  มีดังนี้
                                ด้านความรู้   เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง  เช่น  สร้างคำขวัญ        ทำแผนภาพ  จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์/ เปรียบเทียบ ฯลฯ
                                ด้านเจตคติ   เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น  เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์  สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
                                ด้านทักษะ     เป็นการลงมือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนทักษะที่ได้เรียนรู้
                                การนำองค์ประกอบทั้ง  มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลังหรือใช้องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดแต่จำเป็นต้องให้มีครบทั้ง องค์ประกอบในแต่ละองค์ประกอบสามารถออกแบบกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ดังที่จะกล่าวต่อไป
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1 )Gagne องค์ประกอบสำคัญที่ทำ
ให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย  3  องค์ประกอบ  คือ
 1.        ผู้เรียน (The Learner) 
2.        สิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง    โดยสิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อม
 รอบๆ ตัวผู้เรียนหรือสถานการณ์ต่าง    หมายถึงสถานการณ์หลาย    อย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน 
3.        การตอบสนอง (Response)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า 
แต่ในขณะที่  เชียรศรี  วิวิธสิริ  (252723-24)  กล่าวว่า  สิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
 1.  ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อม  มีความต้องการที่จะเรียน  มีประสบการณ์มาบ้าง 
แล้ว  และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะเรียน 
2.         ตัวครูจะต้องมีบุคลิกภาพดี  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี  มีวิธีการเทคนิค 
ที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้หลายวิธี  และแต่ละวิธีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละเนื้อหาวิชา  และต้องรู้จักการใช้สื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน  เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่าย 
3.         สิ่งแวดล้อม  ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี  มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับ 
ผู้สอน  มีสถานที่เรียน  ตลอดจนอุปกรณ์  เช่น  ม้านั่ง  โต๊ะเรียนที่อำนวยความสะดวก  และเหมาะสม  สถานที่เรียนต้องมีบรรยากาศถ่านเทดี  อยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน  และแหล่งเสื่อมโทรมต่าง    ทางไปมาสะดวก           
                 สอดคล้องกับ  ปราณี  รามสูต  (252879-82)  กล่าวว่า  องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นแบ่งออกเป็น  4  องค์ประกอบ  คือ 
1.        องค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้เรียน  ได้แก่  วุฒิภาวะ  และความพร้อม  ในการเรียนรู้ใด  ๆถ้าบุคคลถึงวุฒิภาวะและมีความพร้อมจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ  และไม่มีความพร้อมความสามารถมนการเรียนรู้จากเด็กวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อย  จากวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่จะคงที่จากวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราจะลดลง  ประสบการณ์เดิม ความบกพร่องทางร่างกาย  ยิ่งมีความบกพร่องมากเท่าใด  ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ก็น้อยลงเท่านั้น  แรงจูงใจในการเรียน  เช่น  รากฐานทางทัศนคติต่อครู  ต่อวิชาเรียน  ความสนใจและความต้องการที่อยากจะรู้อยากเห็นในส่วนที่เรียน
 2. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบทเรียน  เช่น  ความยากง่ายของบทเรียนถ้าเป็นบทเรียนที่ง่าย
 ผลการเรียนรู้ย่อมดีกว่าการมีความหมายของบทเรียน  ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งมีมีความหมายเป็นที่สนใจของเขา  ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู่ได้ดีกว่า ความยาวของบทเรียน  บทเรียนสั้น    จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าบทเรียนที่ยาว  ตัวรบกวยจากบทเรียนอื่น  หรือจากกิจกรรมอื่น  จะขัดขวางการเรียนรู้ในสิ่งนั้น    ไม่ว่าตัวรบกวนนั้นจะเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการเรียนรู้ 
3.        องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิธีเรียนวิธีสอน เช่น กิจกรรมในการเรียนการสอน ครูควรเลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน  ตามเนื้อหาวิชาและโอกาส  การให้รางวัลและลงโทษ  เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน  การให้คำแนะนำในการเรียน  โดยครูแนะนำให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น
4.        องค์ประกอบการสิ่งแวดล้อมอื่น  เช่น สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน  ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน  ระหว่างนักเรียนกับครู  สภาพของโต๊ะ  เก้าอี้  ทิศทางลม  แสงสว่าง  ความสะอาด ความเป็นระเบียบ 
                ในทำนองเดียวกัน  วนิช  บรรจง  และคณะ  (2514:87)  กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ดังนี้1.  การจูงใจ  การเรียนรู้ต้องมีมูลเหตุจูงใจ  ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียน  การจูงใจอาจทำได้โดยการให้รางวัลและลงโทษ  การให้คะแนน  การยอมรับนับถือจากผู้อื่น  ความสำเร็จในการงาน  การรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน
 2.  ตัวครู ต้องเป็นคนดีในทุก ๆ ด้าน ควรเป็นผู้ที่รักในวิชาที่ตนสอนและต้องปลูกฝังความรักความสนใจและความเข้าใจในตัวเด็ก สนใจผู้เรียน นอกจากนี้ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ของการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของลักษณะวิชา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
 3.  สิ่งแวดล้อมทั้งทางครอบครัว และทางโรงเรียนโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เช่น สภาพของห้องเรียนที่น่าอยู่น่าอาศัย อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบทเรียน
 4.  อุปกรณ์การศึกษาหรือเครื่องมือที่ครูนำมาประกอบการสอน ช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายทางช่วยเร้าความ สนใจแก่ผู้เรียน ตลอดจนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียน ไม่เบื่อหน่ายและรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
 5.  วินัย เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย และมีความสุขช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.  การวัดและการประเมินผลการศึกษา จะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัด ทำให้สามารถปรับปรุงผลการเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่านักเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์แระกอบแรกของการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ที่รู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง นอกจากนี้ในการเรียนรู้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความถนัด ความแตกต่างทั้ง 5 ด้านนี้ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยตรง อันจะเป็นผลให้มนุษย์เรามีการรับรู้ได้แตกต่างกัน

สรุป
               องค์ประกอบของการเรียนรู้ คือ องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ 
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว
องค์ประกอบการเรียนรู้

ที่มา
               http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.องค์ประกอบการเรียนรู้มีอะไรบ้าง.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558
             .[online] http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chotirosj&month=11-2008&date=24&group=1&gblog=47.องประกอบการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558
              http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558
              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น