วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้


อรุณ ชูภาระ( http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144 )ช่วงศตวรรษที่ 20 การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้ หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ

 http://tangengschool.com/data_82431  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน  ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน  ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ
                การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ  มีรายละเอียด ดังนี้
1.  การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาส  ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มี   การสอนซ่อมเสริม
                     การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
2.  การประเมินระดับสถานศึกษา  เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล  การเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษา   ของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและชุมชน
                3.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด ในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
               4.  การประเมินระดับชาติ   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่  เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา  ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุน  การตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ

 http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center4.htm การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอนและการประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกัน แต่ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดูเหมือนการสอนกับการประเมินผลเป็นคนละส่วน แยกจากกัน การประเมินผลน่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูได้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

สรุป
              จากการศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพ ส่วนการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด โดยจุดมีมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และเพื่อตัดสินผลการเรียน จะประกอบด้วย 3 ประเภทได้แก่ การวัดและประเมินผลก่อนเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน การวัดและประเมินผลระหว่างเรียนจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  การวัดและประเมินผลหลังเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมด การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด


ที่มา
http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ3 กันยายน 2558.
อรุณ ชูภาระ.[online] http://tangengschool.com/data_82431.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558.
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center4.htm.การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558.


การเรียนรู้แบบเรียนรวม

        พระจันทร์รุ่งสาง( http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 )ได้กล่าวไว้ว่า การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

        ฉวีวรรณ โยคิน( http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177 ) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่สำคัญ คือ ให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติและดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนร่วมกับบุคคลอื่นๆ การจัดการเรียนรวมในโรงเรียนจึงนับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย (ดารณี อุทัยรัตนกิจ และคณะ,2546 : 53- 58) ซึ่ง การเรียนรวมเป็นคำที่กล่าวถึงกันมากในวงการ การศึกษาพิเศษในประเทศตะวันตกตั้งแต่ ปีค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการจัดการศึกษาพิเศษโดยการเรียนรวม และกำหนดมาตรการหลายอย่างให้โรงเรียนปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ปกครองก็มีบทบาทสำคัญในการเร่งให้โรงเรียนต่างๆ นำแนวคิดนี้มาใช้ ในประเทศสหราชอาณาจักรก็มีแนวโน้มในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และแนวคิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก
ถ้าเราพิจารณามองระบบการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมจะพบว่า การจัดการศึกษาจัดในรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้คำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมาได้มีกลุ่มนักการศึกษามองเห็นว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านนั้น สามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านี้ จึงได้เป็นจุดกำเนิด การศึกษาพิเศษ(Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการพิเศษไปสักระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มนักการศึกษาได้มีการทดลองให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าเด็กพิการกลุ่มทดลองสามารถพัฒนาได้มาก จึงเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) หลังจากที่ได้มีการจัดการเรียนร่วมไประยะหนึ่ง นักการศึกษาได้ทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ กับเด็กที่เรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน และยังพบอีกว่าเด็กที่เรียนร่วมนั้นมีทักษะทางสังคมดีกว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ และยังสมารถพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมที่ยอมรับกันในสังคมทั่วไปได้ดีกว่า จึงได้มีคำจำกัดความของ การเรียนร่วม คือ การที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Needs) ได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ได้สูงสุด
        http://web.nrru.ac.th/web/special_edu/1-1.html การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคลและยังให้คำจำกัดคามเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับประเทศต่างๆ

สรุป
การศึกษาแบบเรียนรวม คือการศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกันโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล ให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติและดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนร่วมกับบุคคลอื่นๆ

ที่มา
        พระจันทร์รุ่งสาง.[online] http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 .การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
        ฉวีวรรณ โยคิน.[online] http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177 .การศึกษาแบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558

        http://web.nrru.ac.th/web/special_edu/1-1.html .ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126) แต่เดิมแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเป็นการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน การศึกษาควรให้ความสำคัญกับ การเรียนมากกว่า การสอน
แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา

นวลจิตต์  เชาวกีรติพงศ์,เบญจลักษณ์  น้ำฟ้าและนางชัดเจน  ไทยแท้ (http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
          การทบทวนบทบาทของครู ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่า แก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบการทำงานของครูกับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วย ด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคนเหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ครูก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ครูจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของ ผู้เรียน และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้ ส่วนเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะได้กล่าวในตอนต่อไป

http://etcserv.pnru.ac.th/kmpnru/?module=knowledge/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิด   การ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี   ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป

สรุป
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ  เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุดตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี   ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง

ที่มา
http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2558.
นวลจิตต์  เชาวกีรติพงศ์,เบญจลักษณ์  น้ำฟ้าและนางชัดเจน  ไทยแท้ http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญChildCenter.สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2558.

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Process)

        https://sites.google.com/site/khunkrunong/1-1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry  Process)
 แนวคิด
       เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น  สืบเสาะ  สำรวจ  ตรวจสอบ  และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ  จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
        1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)  เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยนำเรื่องที่สนใจ  อาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น  หรือเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว  เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม  เป็นแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
        2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจ  มีการกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ  ตั้งสมมติฐาน  กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้  ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่างๆ  วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  ทำการทดลอง  ทำกิจกรรมภาคสนาม  การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ
        3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)  เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอ  จึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  แปลผล  สรุปผล  นำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ  เช่น  บรรยายสรุป  สร้างแบบจำลองหรือรูปวาด
        4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)  เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมแนวคิดที่ได้จะช่วยเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ  ทำให้เกิดความรู้กว้างขึ้น
        5. ขั้นประเมิน (Evaluation)  เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ  ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง  อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  จากนั้นจะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 

        นรัญญา( https://sites.google.com/site/naranya2010/1) ได้กล่าวว่า                 
การสืบเสาะหาความรู้เป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนและมีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบทที่ใช้และผู้ที่ให้คำจำกัดความ โดยศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีต้นกำเนิดจากนักวิทยาศาสตร์ ครู และ นักเรียน (Budnitz, 2003)
การสืบเสาะหาความรู้   เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา  สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขาชีววิทยา สสวท.2550)
การสืบเสาะหาความรู้   คือ  การถามคำถามที่สงสัยและเป็นปัญหา ที่สามารถสืบค้นหาคำตอบได้ และสื่อสารคำตอบออกมาได้ (คณะศึกษานิเทศก์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ จัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 12549; Budnitz, 2003และ Wikipedia, 2007)
การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล  การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006)
การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ และอีกความหมายคือเป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้ในการค้นคว้า หาคำตอบอย่างมีระบบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ  ที่ต้องการศึกษากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถเลือกจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการต่างๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ตามบริบทของผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียนได้สำรวจปรากฏการณ์ต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ    ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (Hogan & Berkowitz, 2000)  
กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
        1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น   ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
        2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
        3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
        4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
        5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป 

         ชลสีต์ จัทนาสิ(http://www.physics.science.cmu.ac.th/teacherworkshop/2552/whatis.htm)การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมีหลักฐานสนับสนุน วิธีนี้เป็นวิธีที่นักเรียนพิจารณาเหตุผล สามารถใช้คำถามที่ถูกต้องและคล่องแคล่วสามารถสร้างและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดลอง และตีความจากการทดลองด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของครู เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนมีระบบวิธีการแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง


 สรุป 
          การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมีหลักฐานสนับสนุน วิธีนี้เป็นวิธีที่นักเรียนพิจารณาเหตุผล สามารถใช้คำถามที่ถูกต้องและคล่องแคล่วสามารถสร้างและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดลอง และตีความจากการทดลองด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของครู เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนมีระบบวิธีการแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น  สืบเสาะ  สำรวจ  ตรวจสอบ  และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ  จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
        1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)  เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยนำเรื่องที่สนใจ  อาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น  หรือเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว  เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม  เป็นแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
        2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจ  มีการกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ  ตั้งสมมติฐาน  กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้  ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่างๆ  วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  ทำการทดลอง  ทำกิจกรรมภาคสนาม  การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ
        3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)  เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอ  จึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  แปลผล  สรุปผล  นำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ  เช่น  บรรยายสรุป  สร้างแบบจำลองหรือรูปวาด
        4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)  เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมแนวคิดที่ได้จะช่วยเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ  ทำให้เกิดความรู้กว้างขึ้น
        5. ขั้นประเมิน (Evaluation)  เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ  ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง  อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  จากนั้นจะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)


การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 


ที่มา
         https://sites.google.com/site/khunkrunong/1-1 . กระบวนการสืบเสาะหาความรู้.สืบค้นเมื่อ 10 กรฎาคม 2558.

          นรัญญา.[online] https://sites.google.com/site/naranya2010/1 .การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es).สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558.


        ชลสีต์ จัทนาสิ.[online] http://www.physics.science.cmu.ac.th/teacherworkshop/2552/whatis.htm.การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้.สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558. 

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของการเรียนรู้

องค์ประกอบของการเรียนรู้
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์( http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html) องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ 
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว
องค์ประกอบการเรียนรู้

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chotirosj&month=11-2008&date=24&group=1&gblog=47 จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่า มีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ 
1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                                เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตน          มาเชื่อมโยงหรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่  และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
                                องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้
                                ผู้เรียน  รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับเรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
                                ผู้สอน    ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่างเพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยกระตุ้น       ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป 
                                ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้ซึ่งทำได้ทั้งทางตรง  เช่น  การนำตัวอย่างดินเหนียว  ดินร่วน  และดินทรายให้เด็กได้สัมผัส  เพื่อสังเกตความแตกต่าง  และทางอ้อม  เช่น  การเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์เนื่องจากเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้


                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้  2 ลักษณะ  คือ  การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียนและการจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด   โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้านดังนี้
ด้านความรู้   เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะสอน
ด้านเจตคติ   เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียนเพื่อกระตุ้น       ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับความคิดความเชื่อต่อไป
ด้านทักษะ     เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทำทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน
2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                                เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์           มวลประสบการณ์  ข้อมูล  ความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดสะท้อนความคิด  หรือบอกความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันอย่างลึกซึ้ง   จนเกิดความเข้าใจชัดเจน  ได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่หรือเกิด/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                                ด้านความรู้   ตั้งประเด็นให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่        ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ  ตัวอย่าง  เช่น  การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์  กรณีศึกษา  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การวิเคราะห์แยกประเภทหรือจัดกลุ่ม  การวิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
                                ด้านเจตคติ  ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย  กระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลายเน้น         ในเรื่องคุณค่า  อารมณ์ความรู้สึก  ความคิดความเชื่อ  มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการข้อสรุปจากการอภิปราย  และความคิดรวบยอดที่ได้จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
                                ด้านทักษะ     ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น  และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือฝึกปฏิบัติ      จนชำนาญ
3.  การนำเสนอความรู้
                                เป็นองค์ประกอบที่เน้นผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ  โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
                                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้  ได้แก่
                                -      การให้แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้  ขั้นตอนทักษะ  ซึ่งทำให้โดยการบรรยาย  ดูวีดิทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร/ใบความรู้/ตำรา  ฯลฯ
                                -      การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
                                -      ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและ       อภิปรายประเด็นที่ได้มอบหมายให้                              
                                กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ      โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                                ด้านความรู้   ผู้เรียนเกิดความรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
                                ด้านเจตคติ   ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์     ที่กำหนดให้
                                ด้านทักษะ     ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ  อย่างชัดเจน
4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ               ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง  ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
                                จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  มีดังนี้
                                ด้านความรู้   เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง  เช่น  สร้างคำขวัญ        ทำแผนภาพ  จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์/ เปรียบเทียบ ฯลฯ
                                ด้านเจตคติ   เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น  เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์  สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
                                ด้านทักษะ     เป็นการลงมือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนทักษะที่ได้เรียนรู้
                                การนำองค์ประกอบทั้ง  มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลังหรือใช้องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดแต่จำเป็นต้องให้มีครบทั้ง องค์ประกอบในแต่ละองค์ประกอบสามารถออกแบบกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ดังที่จะกล่าวต่อไป
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1 )Gagne องค์ประกอบสำคัญที่ทำ
ให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย  3  องค์ประกอบ  คือ
 1.        ผู้เรียน (The Learner) 
2.        สิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง    โดยสิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อม
 รอบๆ ตัวผู้เรียนหรือสถานการณ์ต่าง    หมายถึงสถานการณ์หลาย    อย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน 
3.        การตอบสนอง (Response)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า 
แต่ในขณะที่  เชียรศรี  วิวิธสิริ  (252723-24)  กล่าวว่า  สิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
 1.  ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อม  มีความต้องการที่จะเรียน  มีประสบการณ์มาบ้าง 
แล้ว  และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะเรียน 
2.         ตัวครูจะต้องมีบุคลิกภาพดี  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี  มีวิธีการเทคนิค 
ที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้หลายวิธี  และแต่ละวิธีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละเนื้อหาวิชา  และต้องรู้จักการใช้สื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน  เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่าย 
3.         สิ่งแวดล้อม  ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี  มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับ 
ผู้สอน  มีสถานที่เรียน  ตลอดจนอุปกรณ์  เช่น  ม้านั่ง  โต๊ะเรียนที่อำนวยความสะดวก  และเหมาะสม  สถานที่เรียนต้องมีบรรยากาศถ่านเทดี  อยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน  และแหล่งเสื่อมโทรมต่าง    ทางไปมาสะดวก           
                 สอดคล้องกับ  ปราณี  รามสูต  (252879-82)  กล่าวว่า  องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นแบ่งออกเป็น  4  องค์ประกอบ  คือ 
1.        องค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้เรียน  ได้แก่  วุฒิภาวะ  และความพร้อม  ในการเรียนรู้ใด  ๆถ้าบุคคลถึงวุฒิภาวะและมีความพร้อมจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ  และไม่มีความพร้อมความสามารถมนการเรียนรู้จากเด็กวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อย  จากวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่จะคงที่จากวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราจะลดลง  ประสบการณ์เดิม ความบกพร่องทางร่างกาย  ยิ่งมีความบกพร่องมากเท่าใด  ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ก็น้อยลงเท่านั้น  แรงจูงใจในการเรียน  เช่น  รากฐานทางทัศนคติต่อครู  ต่อวิชาเรียน  ความสนใจและความต้องการที่อยากจะรู้อยากเห็นในส่วนที่เรียน
 2. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบทเรียน  เช่น  ความยากง่ายของบทเรียนถ้าเป็นบทเรียนที่ง่าย
 ผลการเรียนรู้ย่อมดีกว่าการมีความหมายของบทเรียน  ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งมีมีความหมายเป็นที่สนใจของเขา  ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู่ได้ดีกว่า ความยาวของบทเรียน  บทเรียนสั้น    จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าบทเรียนที่ยาว  ตัวรบกวยจากบทเรียนอื่น  หรือจากกิจกรรมอื่น  จะขัดขวางการเรียนรู้ในสิ่งนั้น    ไม่ว่าตัวรบกวนนั้นจะเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการเรียนรู้ 
3.        องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิธีเรียนวิธีสอน เช่น กิจกรรมในการเรียนการสอน ครูควรเลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน  ตามเนื้อหาวิชาและโอกาส  การให้รางวัลและลงโทษ  เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน  การให้คำแนะนำในการเรียน  โดยครูแนะนำให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น
4.        องค์ประกอบการสิ่งแวดล้อมอื่น  เช่น สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน  ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน  ระหว่างนักเรียนกับครู  สภาพของโต๊ะ  เก้าอี้  ทิศทางลม  แสงสว่าง  ความสะอาด ความเป็นระเบียบ 
                ในทำนองเดียวกัน  วนิช  บรรจง  และคณะ  (2514:87)  กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ดังนี้1.  การจูงใจ  การเรียนรู้ต้องมีมูลเหตุจูงใจ  ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียน  การจูงใจอาจทำได้โดยการให้รางวัลและลงโทษ  การให้คะแนน  การยอมรับนับถือจากผู้อื่น  ความสำเร็จในการงาน  การรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน
 2.  ตัวครู ต้องเป็นคนดีในทุก ๆ ด้าน ควรเป็นผู้ที่รักในวิชาที่ตนสอนและต้องปลูกฝังความรักความสนใจและความเข้าใจในตัวเด็ก สนใจผู้เรียน นอกจากนี้ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ของการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของลักษณะวิชา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
 3.  สิ่งแวดล้อมทั้งทางครอบครัว และทางโรงเรียนโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เช่น สภาพของห้องเรียนที่น่าอยู่น่าอาศัย อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบทเรียน
 4.  อุปกรณ์การศึกษาหรือเครื่องมือที่ครูนำมาประกอบการสอน ช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายทางช่วยเร้าความ สนใจแก่ผู้เรียน ตลอดจนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียน ไม่เบื่อหน่ายและรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
 5.  วินัย เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย และมีความสุขช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.  การวัดและการประเมินผลการศึกษา จะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัด ทำให้สามารถปรับปรุงผลการเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่านักเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์แระกอบแรกของการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ที่รู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง นอกจากนี้ในการเรียนรู้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความถนัด ความแตกต่างทั้ง 5 ด้านนี้ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยตรง อันจะเป็นผลให้มนุษย์เรามีการรับรู้ได้แตกต่างกัน

สรุป
               องค์ประกอบของการเรียนรู้ คือ องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ 
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว
องค์ประกอบการเรียนรู้

ที่มา
               http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.องค์ประกอบการเรียนรู้มีอะไรบ้าง.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558
             .[online] http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chotirosj&month=11-2008&date=24&group=1&gblog=47.องประกอบการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558
              http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558