วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียรรู้

ความสำคัญของการเรียนรู้

  ชาญชัย อินทรประวัติ( http://www.kroobannok.com/blog/45566 )1.ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง 2.ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน 3.ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป 4.การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม

                 คิมเบิล( http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm )1. การที่กำหนดว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ จะต้องอยู่ใน รูปของพฤติกรรม ที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้
4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
5. ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่ (บุคคล) ต้องการ

               อมรรัตน์ จันทวงศ์( https://www.gotoknow.org/posts/39420 )การเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้กลายเป็นคนที่ขยันแสวงหาความรู้ใส่ตัวเองและในสักวันความรู้ที่ได้มาอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อมีความจำเป็น ขยันหาความรู้ด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นมีวิธีหลายหลายซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล

สรุป
ความสำคัญของการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนได้เรียนรู้จากง่ายไปสู่ยากและมีการเสริมแรงเพื่อเป็นการให้กำลังใจที่เหมาะสมโดยการให้คะแนนหรือรางวัล

ที่มา
ชาญชัย อินทรประวัติ.[online].http://www.kroobannok.com/blog/45566.หลักการความสำคัญของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.
                คิมเบิล.[online].http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm.ความหมายและขอบข่ายของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.
อมรรัตน์ จันทวงศ์.[online].https://www.gotoknow.org/posts/39420.การเรียนรู้ด้วยตนเอง.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้

ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121)ได้กล่าวความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ ( http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html  ) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ 
1. การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ” เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย 
2. การเข้าใจ(Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้ 
3. การปรับเปลี่ยน (Transformation)เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี 

สรุป
                การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ 
1. การรับรู้ (Reception)
2. การเข้าใจ(Comprehension)
3. การปรับเปลี่ยน (Transformation)

ที่มา
        ประดินันท์ อุปรมัย.(2540).ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้).นนทบุรี:ม.ป.ท.
        ฮิลการ์ดและเบาเวอร์.[online].http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการเรียนรู้.สืบค้นเมื่วันที่17 มิถุนายน 2558
        http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%   B8    %A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C.การเรียนรู้ของมนุษย์.สืบค้นเมื่อ17 มิถุนายน 2558